Close sidebar

Rolex นาฬิกา พิชิตความลึก

เรื่องราวของ Rolex เริ่มต้นขึ้น เมื่อผู้ก่อตั้ง Hans Wilsdorf ได้สร้างสรรค์ นาฬิกา Oyster ที่มีคุณสมบัติ กันน้ำขึ้น เป็นเรือนแรก และพัฒนาเรือนเวลาอีกหลายประเภทที่ได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของวงการผลิต นาฬิกา ในปัจจุบัน

 

ประวัติของ Rolex เกี่ยวกับ นาฬิกา ข้อมือกันน้ำ

ประวัติของ Rolex เชื่อมโยงกับ จิตวิญญาณ แห่งการจินตนากา รของ Hans Wilsdorf ผู้ก่อตั้ง อย่างแยกไม่ออก ในปี 1905 Hans Wilsdorf ชายอายุ 24 ปีได้ก่อตั้ง บริษัทขึ้น ในกรุงลอนดอน โดยเป็นบริษัท ที่เชี่ยวชาญด้านการจำหน่าย นาฬิกา ณ ตอนนั้น เขาก็เริ่มวาดฝัน ที่จะได้สวมใส่ นาฬิกา ไว้บนข้อมือ ขณะนั้น นาฬิกา ข้อมือ ไม่ได้เที่ยงตรงมากนัก แต่ Hans Wilsdorf ก็มองล่วงหน้า ว่า นาฬิกาข้อ มือ ไม่ควรมีเพียงความหรูหราเท่านั้น แต่ต้องมีความเที่ยงตรงด้วย

เพื่อให้สาธารณชน เชื่อถือใน นาฬิกา ที่เป็นนวัตกรรม อันยอดเยี่ยมของเขา เขาจึงประกอบ นาฬิกา ด้วยกลไกขนาดเล็ก ที่แม่นยำสูง ซึ่งผลิตโดย บริษัทผลิต นาฬิกา ของสวิสในเมืองเบียนน์

หนึ่งในความท้าทาย อันยิ่งใหญ่ที่ Hans Wilsdorf ต้องเผชิญก็คือ การค้นหา วิธีเพื่อปกป้อง นาฬิกา จากฝุ่น  และความชื้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตัน หรือเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้หากเล็ดรอดเข้าไปด้านในตัวเรือน ในจดหมายปี 1914 เขาได้กล่าว ถึงความตั้งใจ ของตนเอง ถึงบริษัท Aegler ในเมืองเบียนน์ ซึ่งภายหลังได้กลายเป็น Manufacture desMontres Rolex S.A. ว่า “ เราจำเป็น ต้องหาทางผลิต นาฬิกา ข้อมือกันน้ำให้ได้ ”

 

OYSTER คือ นาฬิกา ข้อมือกันน้ำเรือนแรกของโลก

ตัวเรือน OYSTER การปฏิวัติด้านดีไซน์

ตัวเรือน Oyster ที่ได้รับ การปิดผนึกสุญญากาศอย่างสมบูรณ์แบบ ถือเป็นสัญลักษณ์ของ นาฬิกา Rolex ตัวเรือน ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร ในปี 1926 นี้ประกอบด้วย ขอบหน้าปัด ตัวเรือนด้านหลัง และเม็ดมะยม ที่เจาะยึดด้วยสกรูเข้ากับตัวเรือนตรงกลาง โดยชิ้นส่วนเหล่านี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการกันน้ำของ นาฬิกา Rolex และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักดำน้ำไปพร้อมกับพัฒนาวัสดุ และเทคนิคในการดำน้ำ ซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถดำดิ่งลงไปได้ลึกยิ่งกว่าเดิม

1. ขอบหน้าปัด Rolex ตัวเรือน Oyster

ขอบหน้าปัด บนตัวเรือน Oyster รุ่นดั้งเดิมจะได้รับการเซาะร่องเพื่อให้สามารถเจาะยึดด้วยสกรูเข้ากับตัวเรือนตรงกลางได้โดยใช้เครื่องมือพิเศษของ Rolex เท่านั้น อีกทั้งโครงสร้างของตัวเรือน Oyster ยังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปีต่อ ๆ มาเพื่อทำให้ตัวเรือนมีความทนทาน และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคที่นำมาใช้กับตัวเรือนสามารถประกอบเข้ากับขอบหน้าปัดแบบหมุนได้ โดยเฉพาะบน นาฬิกา สำหรับนักดำน้ำ

2. ด้านหลังตัวเรือน Rolex ตัวเรือน Oyster

ด้านหลังตัวเรือน Oyster ได้รับการเซาะร่อง เพื่อให้สามารถเจาะยึดเข้ากับตัวเรือนตรงกลางได้อย่างแน่นหนา  ด้านหลังตัวเรือนของ นาฬิกา สำหรับนักดำน้ำในปัจจุบันทำจาก Oystersteel หรือทองคำ 18 กะรัต โดยขึ้นอยู่กับรุ่น และเวอร์ชั่น ของ นาฬิกา Rolex

 

3. เม็ดมะยมของ Rolex ตัวเรือน Oyster

เม็ดมะยมบนตัวเรือน Oyster รุ่นดั้งเดิมได้รับการเจาะยึดด้วยสกรูเข้ากับตัวเรือนตรงกลาง และในปี 1953 Rolex ได้เปิดตัวเม็ดมะยม Twinlock ซึ่งมาพร้อมกับ ระบบซีลสองชั้นที่ได้รับการจดสิทธิบัตร หลักการนี้ได้รับการพัฒนาให้ก้าวล้ ขึ้นไปอีกขั้นในปี 1970 ด้วยเม็ดมะยม Triplock ที่ประกอบด้วย ส่วนปิดผนึกเพิ่มเติม เพื่อเสริมศักยภาพในการกันน้ำของ นาฬิกา รุ่นต่าง ๆ ที่ได้รับการติดตั้ง เม็ดมะยมรุ่นนี้ โดยส่วนหนึ่งในนั้นเป็น นาฬิกา ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับการดำน้ำของแบรนด์ Rolex

 

ตัวเรือน Oyster ของ Rolex ถือเป็นหัวใจสำคัญ ในหน้าประวัติศาสตร์ ของการผลิต นาฬิกา ร่วมสมัย สร้างสรรค์โดย Rolex ในปี 1926 นับเป็นเป็นตัวเรือนกันน้ำสำหรับ นาฬิกา ข้อมือ ชิ้นแรกของโลกที่ Rolex ได้จดสิทธิบัตร ระบบการขันสกรูยึดขอบ ด้านหลังของตัวเรือน และเม็ดมะยม เข้ากับตัวเรือนตรงกลาง ตัวเรือน นาฬิกา  ที่เปี่ยมด้วยความสง่างาม และได้สัดส่วนที่สมบูรณ์แบบนี้ คือ สัญลักษณ์ของความทนทาน และการกันน้ำ นับเป็นการผสมผสานรูปแบบ และการทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นรุ่นที่ทำจาก Oystersteel ทองคำ 18 กะรัต หรือแพลทินัม 950