Close sidebar

ROLEX COSMOGRAPH DAYTONAสวยแพง ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะ

หากคุณเป็นแฟนคลับนาฬิกา ROLEX แบรนด์นาฬิกาที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดี คงปฏิเสธไม่ได้ถ้าคุณไม่รู้จัก ROLEX รุ่น DAYTONA ซึ่งมีฉายาว่า KING OF SPORT WATCH เรามา

 

ทำความรู้จักกับความเป็นมาของนาฬิกา ROLEX COSMOGRAPH DAYTONA

 

ในปี 1962 ROLEX ได้เป็นผู้สนับสนุนสนาม Daytona International Speedway โดยมีฐานะเป็นแบรนด์นาฬิกาประจำสนามอย่างเป็นทางการ และเป็นหนึ่งในรางวัลของผู้ชนะ Daytona Continental ที่จะได้รับ ในปีถัดมา 1963 ROLEX ได้ออกแบบนาฬิกาที่ใช้สำหรับนักแข่งรถโดยเฉพาะมาสู่ตลาดโดยตั้งชื่อว่า Cosmograph และใช้เป็นรางวัลสำหรับผู้ที่ชนะการแข่งขันรายการนี้ จากนั้นไม่นาน ROLEX จึงเพิ่มคำว่า DAYTONA ต่อท้ายเข้าไปเพื่อตอกยํ้าความสัมพันธ์ของแบรนด์กับสนามแข่งขันรถยนต์อันโด่งดังของอเมริกาแห่งนี้ และนี่ก็คือที่มาของคำว่า Cosmograph Daytona

 

ชื่ออย่างเป็นทางการของนาฬิการุ่นนี้ในปัจจุบันคือ Oyster Perpetual Cosmograph Daytona เป็นที่รู้จักกันในฐานะนาฬิกาโครโนกราฟเดินด้วยกลไกขึ้นลานอัตโนมัติของ Rolex ซึ่งมีข้อพิสูจน์จากความสำเร็จและชื่อเสียงที่ร่ำลือต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน เป็นตัวอย่างของนาฬิกาที่มีรูปแบบและฟังก์ชั่นที่เข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แบบ คุณสมบัติทั้งหมดนี้ถูกอธิบายผ่านอักษรที่ปรากฏอยู่บนหน้าปัดนาฬิกา Daytona ในปัจจุบัน (Oyster = ตัวเรือนกันน้ำของ Rolex, Perpetual = กลไกอัตโนมัติ, Superlative Chronometer Officially Certified = ผ่านการรับรองความเที่ยงตรงสูงระดับโครโนมิเตอร์)

 

รุ่นต่าง ๆ ของ ROLEX COSMOGRAPH DAYTONA

 

ROLEX Oyster Perpetual Cosmograph Daytona (1963)

นาฬิกา Cosmograph ที่ส่งไปขายในตลาดอเมริกันเท่านั้น เพื่อที่จะสื่อถึงการที่ Rolex เข้าไปเป็นแบรนด์นาฬิกาอย่างเป็นทางการประจำสนามแข่ง Daytona International Speedway

 

Paul Newman Rolex Daytona

Daytona หน้าปัด Paul Newman เป็นแบบหน้าปัดที่โด่งดังซึ่งมีที่มาจากการที่นักแสดงชาวอเมริกันชื่อดัง Paul Newman ที่เป็นนักแข่งรถ เขามักจะใส่นาฬิกา Daytona หน้าปัดแบบนี้อยู่เสมอ

 

Cosmograph Daytona ปี 1965

ในปี 1965 ก็ได้ออก Daytona เวอร์ชั่นใหม่ที่ใช้ปุ่มกดโครโนกราฟที่เป็นแบบขันเกลียวล็อกได้แทนปุ่มกดแบบธรรมดา ซึ่งสามารถป้องกันการกดปุ่มโดยไม่ตั้งใจและสามารถป้องกันน้ำเข้าได้ดียิ่งขึ้น และบนหน้าปัดก็ได้รับการบรรจุคำว่า Oyster เพิ่มเข้ามาด้วย

 

Cosmograph Daytona ปี 1988

ในปี 1988 โดยคราวนี้ Rolex เลือกใช้กลไกอัตโนมัติโครโนกราฟที่ถือว่ามีคุณภาพสูงที่สุดในท้องตลาด ซึ่งก็คือกลไกอัตโนมัติโครโนกราฟของ Zenith นั่นเอง Rolex นำกลไกนี้มาปรับแต่งเพิ่มเติมให้เป็นไปตามที่ Rolex ต้องการ ซึ่งก็รวมถึงระบบโมดูลขึ้นลานอัตโนมัติและเพอร์เพทชวลโรเตอร์ของ Rolex ด้วย กลไกนี้ทาง Rolex เรียกว่า Calibre 4030 โดยทุกเครื่องที่นำมาใช้งานจะต้องผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงโครโนมิเตอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้วเท่านั้น ซึ่งทำให้บนหน้าปัดของ Daytona เวอร์ชั่นนี้ทุกเรือนมีข้อความ “Superlative Chronometer Officially Certified” บ่งบอกอยู่บนหน้าปัด

 

Cosmograph Daytona ปี 2000

ในปี 2000 ทาง Rolex ก็เปิดตัวรุ่นใหม่ของ Daytona อีกครั้ง ซึ่งคราวนี้มีการปรับเปลี่ยนเครื่องมาใช้กลไกอัตโนมัติโครโนกราฟความเที่ยงตรงระดับโครโนมิเตอร์ Calibre 4130 ที่ Rolex ออกแบบและผลิตขึ้นเอง โดยมีการนำกลไกเวอร์ติคัลคลัตช์มาใช้กับระบบโครโนกราฟแทนกลไกเลเทอรัลคลัตช์แบบเดิม ซึ่งทำให้การกดจับเวลาและการกดหยุดมีความแม่นยำยิ่งขึ้น

 

Cosmograph Daytona  รุ่นปัจจุบัน

ระยะเวลาจากปี 2000 เป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงของ Daytona จะเป็นไปในลักษณะของการออกเวอร์ชั่นต่างๆ ที่มีความแตกต่างกันในส่วนของสีหน้าปัดและการตกแต่ง โดยแต่ละวัสดุตัวเรือนก็จะมีทางเลือกเป็นของตัวเองโดยเฉพาะ  รวมถึงมีหลักชั่วโมงแบบเลขอารบิก แบบเลขโรมัน หรือแบบประดับเพชรให้เลือกด้วย

 

Cosmograph Daytona ฉลองครบ 50 ปี

ปี 2013 ในงาน Baselworld 2013 ทาง Rolex ฉลองวาระสำคัญนี้ด้วยการออก Daytona ในตัวเรือนแพลตินั่ม ด้วยวัสดุล้ำค่าอย่างแพลตินั่ม ซึ่งทำให้ราคาของ Daytona รุ่นนี้พุ่งขึ้นไปในระดับที่คนธรรมดาทั่วไปไม่สามารถซื้อหามาครอบครองได้ และถือเป็นนาฬิกาแบบเฉพาะทางที่ Rolex เรียกว่า นาฬิกาออยสเตอร์โปรเฟสชั่นแนลรุ่นแรกที่ใช้วัสดุตัวเรือนเป็นแพลตินั่ม และมาคู่กับหน้าปัดสีไอซ์บลูที่ Rolex สงวนสีนี้ไว้ใช้เฉพาะคู่กับนาฬิกาตัวเรือนแพลตินั่มเท่านั้น

Rolex รุ่น Oyster Perpetual Day-Date 36

นาฬิกา Rolex รุ่น Oyster Perpetual Day-Date 36 ที่มีหน้าปัดเป็นสีเทอร์ควอยซ์ เป็นการออกแบบที่โดดเด่น

Rolex GMT-Master II “Pepsi”

เมื่อปี 2018 ถือเป็นการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ของ Rolex Pepsi หรือ Rolex GMT-Master ที่รู้จักกันอย่างกว้